ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับระบบเสียง
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot


  [Help]
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
dot
รับชำระเงินทางธนาณัติออนไลน์ www.tpesound.com
dot
dot
www.tpesound.com
dot
dot
dot
dot
TAPCO 260FX www.tpesound.com
dot
dot
dot
dot
MODIFY, โมดิฟาย
dot
dot
PROEURO TECH, ยูโรเทค
dot
dot
AJ, A&J, AUDIO JOCKEY
dot
dot
ALTO, LTO
dot
bulletNPE


บริษัท นัฐพงษ์เซลล์แอนด์เซอร์วิส จำกัด
yamaha, ยามาฮ่า, ดนตรี, ระบบเสียง
Behringer, เบอร์ริงเจอร์
P.AUDIO, P Audio, ดอกลำโพง


ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับระบบเสียง article

 AUDIOPHILE

คำนี้น่าจะนำมาจากคุณภาพการบันทึกแผ่นซีดีครับ เนื่องจากไม่ได้มีบทบรรญัติไว้ชัดเจนในพจนานุกรม แผ่นซีดีที่มีการบันทึกโดยเน้นคุณภาพเป็นพิเศษ โดยเริ่มตั้งแต่การบันทึกในห้องอัด การบันทึกลงแผ่น ใช้อุปกรณ์คุณภาพดี รวมไปถึงพิถีพิถันทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้มาซึ่งแผ่นที่ให้คุณภาพเสียงได้ใกล้เคียงกันต้นกำเนิด เหมือนผู้ฟังได้ไปนั่งฟังบทเพลงนั้นๆตอนบันทึกเลยทีเดียว คำว่า AUDIOPHILE จึงหมายถึงการเล่นเครื่องเสียงเพื่อให้ได้คุณภาพสูงสุด ในสภาวะแวดล้อมและอุปกรณ์ในชุดเครื่องเสียงจะอำนวย  ประการสำคัญที่เป็นแก่นแท้ของการเล่นแบบนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาของตัวเครื่องนะครับ นักเล่นมักให้ความสนใจไปกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง พิถีพิถันสูงสุด เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกอุปกรณ์มาร่วมชุดใช้งาน ย้ำอีกครั้งว่าไม่ต้องราคาแพงสูงสุด แต่มักเลือกคุณภาพที่ดี ดีด้วยวัสดุการผลิต ดีด้วยคุณภาพของวงจร นักเล่นบางท่านถึงกับกำหนดชิ้นส่วนอุปกรณ์แม้เพียงขนาดเล็กภายในวงจรเลยทีเดียว เมื่อได้อุปกรณ์เข้าชุดพอใจทั้งระบบ ก็ต้องให้ความใส่ใจกับอุปกรณ์เสริม ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นของแพง แต่เลือกใช้วัสดุคุณภาพดีสามารถเสริมข้อดี ช่วยกลบข้อด้อยของชุดเครื่องเสียงได้ เมื่ออุปกรณ์ครบหมดแล้ว ก็มาถึงการติดตั้ง นักเล่นบางท่านถึงกับติดตั้งเองหรือบางท่านก็ไปคอยควบคุมทุกขั้นตอนการติดตั้ง เรียกได้ว่าสนิทชิดเชื้อกับช่างเลยทีเดียว ใส่ใจแม้กระทั้งมุมติดตั้ง ทิศทางสาย ตำแหน่งวางเพาเวอร์แอมป์ และอื่นๆอีกมากมาย ใส่ใจพิถีพิถันครบทุกจุด เพื่อรีดคุณภาพเสียงจากชุดที่เลือกไว้ออกมาให้ได้คุณภาพสูงสุด เพื่อที่จะให้มีคุณภาพดีกว่าชุดราคาแพงที่ติดตั้งได้ไม่ดีนัก

จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนการจูนเสียง นักเล่นแนวทางนี้จะไม่ใช้อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ประเภทการปรับแต่งเสียงช่วยแต่อย่างใด เน้นอุปกรณ์เพียงน้อยชิ้น เพื่อให้สัญญาณผ่านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุด นอกจากบางท่านจะจูนเสียงด้วยตนเองแล้ว บางท่านถึงกับจูนเสียงเป็นวันๆเป็นคืนๆ เคยมีคำกล่าวติดตลกด้วยว่า จูนเสียงเพื่อเอาคุณภาพสูงสุดต้องไปจูนเสียงที่เงียบสงัดเช่น ป่าช้าเลยก็มี

ข้อสำคัญคือ นักเล่นกลุ่มนี้มักจะไม่จ่ายค่าอุปกรณ์แพงระดับสูงสุด แต่ก็ไม่ได้เลือกจ่ายในราคาต่ำสุดเช่นกัน ใช้วิธีเลือกคุณภาพตามความเหมาะสมและความเข้ากันได้ทางบุคลิกเสียงที่สามารถเติมเต็มความไพเราะซึ่งกันและกัน อะไรขาดเสียงไหนก็หาอุปกรณ์ที่เหลือมาเติมแต่งให้เต็ม เพื่อให้ได้เสียงคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป  ผู้ที่เริ่มเล่นเครื่องเสียง ควรศึกษาหาข้อมูลและได้ลองฟัง อย่าลืมว่าเครื่องเสียงราคาแพงระดับสูงก็มักจะให้คุณภาพเสียงที่ดี และถ้าประกอบเข้ากับการเล่นแบบพิถีพิถันใส่ใจทุกขั้นตอน ก็จะยิ่งเพิ่มคุณค่าและคุณภาพของเสียงขึ้นไปอีก แล้วนักเล่นมือใหม่จะเล่นเครื่องเสียงแบบไหนอย่างไร  แนะนำว่า ให้ไปลองฟังเสียงดนตรีจริงๆ ที่ไม่ผ่านการขยายเสียง สักครั้ง ประเภทการแสดงสด หรือเหมาะที่สุดก็เป็นเพลงคลาสสิคจากวงออเครสต้า เมื่อนั้นท่านจะทราบความต้องการของตนเองว่า จะเล่นเครื่องเสียงแบบใดครับ

Auxilliary Audio Input

เป็นจุดรับสัญญาณเข้าทางแผงหน้าปัดหรือด้านหลังตัวเครื่องวิทยุซีดี ที่ยอมให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกับเครื่องรับสัญญาณจากดาวเทียมหรือเครื่องเล่นเพลงแบบพกพาอื่นๆได้ (อาทิ MP3, CD, MD)  

 

 

Active Crossover

 

สำหรับแอคทีฟครอสโอเวอร์นั้น ในบางที่ก็อาจเรียกว่า อีเล็คโทรนิค ครอสโอเวอร์(electronic crossover) ด้วยความที่เป็นอุปกรณ์ซึ่งต้องการกำลังไฟและกราวน์ในการทำงาน ถูกติดตั้งเอาไว้ระหว่างวิทยุซีดีหรืออีควอไลเซอร์กับเพาเวอร์แอมป์ เป็นตัวกรองและแบ่งความถี่ในย่านที่เหมาะสมสำหรับสัญญาณระดับต่ำ ก่อนจะป้อนเข้าเพาเวอร์แอมป์ เพื่อช่วยให้เพาเวอร์แอมป์ทำงานเฉพาะส่วนของความถี่ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของระบบเสียงสูงขึ้นถึงระดับไฮเอ็นด์   แอคทีฟครอสโอเวอร์โดยทั่วไป จะต้องสามารถปรับตั้งความถี่ได้อย่างอิสระ มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งส่วนของเสียงตามความต้องการของระบบในรถแต่ละคัน อาจจำเป็นต้องมีปุ่มช่วยปรับเพิ่มเสียงเบส และปุ่มปรับระดับเสียงขาออกของส่วนเสียงแต่ละส่วน

Ampere 

เป็นหน่วยวัดกระแสหรือไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร โดยอาจเรียกสั้นๆว่า แอมป์”(amp) และไม่ควรนำไปใช้สับสนกับคำว่า แอมปลิไฟล์เออร์”(amplifier) ที่มักเรียกสั้นๆว่า แอมป์”(amp) เหมือนกัน

Band pass Filte

การกรองเสียงผ่านเฉพาะย่านความถี่ จะประกอบด้วยส่วนของการกรองเสียงผ่านเฉพาะเสียงย่านที่สูงกว่าและส่วนของการกรองเสียงผ่านเฉพาะเสียงย่านที่ต่ำกว่า เพื่อยอมให้มีเฉพาะส่วนของเสียงในระหว่างนั้นผ่านออกไปยังปลายทาง การกรองเสียงผ่านเฉพาะย่านความถี่อาจเป็นแบบกำหนดความถี่ตายตัว หรือแบบปรับเลือกอิสระ

Ridged Power

เมื่อคุณบริดจ์กำลังที่เพาเวอร์แอมป์ นั่นหมายถึงการรวมกำลังขับของทั้งสองแชนแนลให้กลายเป็นหนึ่งแชนแนล การบริดจ์กำลังจะสามารถขับดันลำโพงได้ในกำลังวัตต์ที่มากกว่ากำลังวัตต์ปกติของสองแชนแนลรวมกัน

Box volume

เป็นมาตรวัด ที่ใช้บอกถึงองค์ประกอบของซับวูฟเฟอร์ โดยการแนะนำปริมาตรภายในของตู้ที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เพื่อให้ซับวูฟเฟอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด และยอมให้มีความคลาดเคลื่อนได้ 10-20 เปอร์เซ็นต์

Basket

 

เป็นโครงโลหะที่ใช้ยึดส่วนประกอบของซับวูฟเฟอร์ทั้งหมดไว้ด้วยกัน โครงลำโพงจะต้องแข็งแกร่งและต้านทานต่อการสั่นสะท้านได้ดี เพื่อให้ได้เสียงซับวูฟเฟอร์ที่มีคุณภาพ

Butterworth Filters

 

การกรองเสียงในแบบบัตเตอร์เวิร์ธจัดว่าเป็นแบบที่มีคุณภาพสูง ให้ความราบรื่นของเนื้อเสียงสมบูรณ์สุด โดยมีผลกระทบทางด้านเฟสเสียงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการกรองเสียงในแบบอื่นๆ

 

Crossover (High-Pass Filter) 

ป็นระบบกรองผ่านเสียงที่สูงกว่าที่บรรจุอยู่ในเครื่อง ที่จะยอมให้ความถี่เสียงที่อยู่สูงกว่าจุดตัดความถี่ผ่านออกไป ระบบกรองผ่านเสียงนี้ทำงานได้ทั้งกับจุดต่อสายลำโพง, จุดต่อสายปรีเอาท์ หรือทั้งสองจุด

 

Crossover (Low-Pass Filter)

 

เป็นระบบกรองผ่านเสียงที่ต่ำกว่าที่บรรจุอยู่ในเครื่อง ที่จะยอมให้ความถี่เสียงที่อยู่ต่ำกว่าจุดตัดความถี่ผ่านออกไป ระบบกรองผ่านเสียงนี่ทำงานได้ทั้งกับจุดต่อสายลำโพง, จุดต่อสายปรีเอาท์ หรือทั้งสองจุด

 

Crossover Point

 

เป็นจุดตัดของความถี่ที่ใช้ระบุการทำงาน ของการกรองเสียงผ่านเฉพาะเสียงย่านที่สูงกว่าและการกรองเสียงผ่านเฉพาะเสียงย่านที่ต่ำกว่า โดยมีระดับของคลื่นเท่าๆกัน

 

Crossover Slope

 

 

เป็นอัตราการลดทอนเสียงลงที่จุดตัดความถี่เพื่อกันความถี่ที่ไม่ต้องการให้ผ่าน ความลาดชันนี้จะมีหน่วยเป็นเดซิเบลต่อออคเตป ค่าที่ปรากฏ 6 dB/Octave หมายถึงครอสโอเวอร์จะลดกำลังเสียงลง 6 dB ในทุกๆออคเตปที่อยู่ถัดไปจากจุดตัดความถี่ ดังนั้นหากมีค่าความลาดชันที่ 12 dB/Octave หรือสูงกว่านี้ ท่านก็แทบจะไม่ได้ยินเสียงที่อยู่ถัดไปจากจุดตัดความถี่เลย 

 

Capaciton

หมายถึงคาปาซิเตอร์แบบใช้งานกำลังสูงๆ ที่มักต่ออยู่ใกล้ๆกับบริเวณที่ติดตั้งเพาเวอร์แอมป์ โดยต่อไว้ในระหว่างสายไฟจากเพาเวอร์แอมป์ที่จะวิ่งไปยังแบตเตอรี่ เพื่อการเก็บสำรองกำลังไฟและจ่ายให้เพาเวอร์แอมป์ได้โดยตรงเมื่อมีการกระชากไฟอย่างรุนแรง (เช่นในขณะที่มีการกระทืบกระเดื่องกลองอย่างรุนแรง) โดยไม่จำเป็นต้องไปกระชากไฟที่แบตเตอรี่

 

Classes of Amplifiers

 

คนทั่วไปมักคิดว่าเพาเวอร์แอมป์จะให้การทำงานเต็ม 100% เมื่อป้อนสัญญาณเข้าไป แต่ในความจริงเพาเวอร์แอมป์มีการสลายกำลัง(ในรูปแบบของความร้อน) และมีความผิดเพี้ยนในระดับสัญญาณเสียง เป็นปัจจัยหลักสองปัจจัยที่มีผลกับประสิทธิภาพทำงานของเพาเวอร์แอมป์ การออกแบบวงจรเพาเวอร์แอมป์จึงต้องเลือกระดับชั้นในการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ และแต่ละระดับชั้นนั้นก็มีคุณสมบัติที่เป็นประสิทธิภาพเฉพาะตัว

 

   Class A amplifiers ถูกกำหนดไว้เพื่อคุณภาพของเสียงที่สูงสุด แต่ด้วยเหตุที่มันมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นทรานซิสเตอร์ทั้งหมด เพาเวอร์แอมป์คลาส-เอจึงไร้ประสิทธิผลและร้อนในขณะทำงาน เพราะว่าแม้ในขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ทรานซิสเตอร์เอาท์พุทก็ยังคงมีกระแสไหลผ่านตัวมันตลอด กระแสที่ไหลผ่านตลอดเวลานี้เองที่ทำให้เกิดความร้อนโดยไม่จำเป็น และ สูญเสียพลังงานไปอย่างมาก เพาเวอร์แอมป์ในยุคหลังๆจึงมักใช้วงจรคลาส-เอที่เป็นวงจรผสมของ Class A/Class AB เพื่อลดปัญหาความร้อน

   Class AB amplifiers เป็นการออกแบบ ที่ยอมให้เอาท์พุททรานซิสเตอร์มีกระแสไหลผ่าน ขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ในระดับต่ำมากๆ จึงให้ประสิทธิผลที่มากกว่าคลาส-เอ โดยที่มีความผิดเพี้ยนต่ำและมีความน่าเชื่อถือสูง

   Class D amplifiers เป็นการใช้เอาท์พุทรานซิสเตอร์ทำงานแทนสวิทช์ เพื่อควบคุมการป้อนจ่ายกำลัง โดยทรานซิสเตอร์จะหยุดทำงานเมื่อมีแรงดันไฟปริมาณมากๆตกคร่อมอยู่ที่ตัวมัน วงจรครลาส-ดีจึงให้ประสิทธิผลสูงสุด การทำงานมีความร้อนต่ำสุด และให้การไหลของกระแสได้มากกว่าวงจรคลาส-เอบี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ดีจะมีความผิดเพี้ยนสูงกว่าคลาส-เอบี เนื่องจากการปิด/เปิดอย่างรวดเร็วของทรานซิสเตอร์ แต่ก็มักเกิดขึ้นที่ย่านความถี่สูง ดังนั้นโดยปกติมักจะใช้การกรองความถี่ให้ผ่านเฉพาะย่านความถี่ต่ำมาใช้งาน

   Class T amplifiers เป็นการใช้การจัดเรียงคลื่นเสียง โดยใช้ข้อเด่นของวงจรคลาส-เอบี ผสมเข้ากับประสิทธิภาพทางกำลังที่สูงและการทำงานที่มีความร้อนน้อยของคลาส-ดี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ทีจึงสามารถให้กำลังวัตต์ที่สูงกว่าเป็น 2-4 เท่าตัว เมื่อเทียบกันในขนาดเท่าๆกันของเพาเวอร์แอมป์คลาส-เอบี

Crossover

 

เป็นวงจรเครือข่ายที่ใช้ในการกรองความถี่เสียง ประกอบด้วยคอยล์และคาปาซิเตอร์ ที่กำหนดไว้ให้ย่านความถี่ที่เหมาะสมเท่านั้นผ่านไปยังลำโพงในระบบแต่ละตัว (อาทิ วูฟเฟอร์, มิดเรนจ์ และทวีตเตอร 

Digital-to-Analog (D/A) Converter

 

เครื่องเล่นวิทยุซีดีจะใช้ตัวแปลงรหัสดิจิตอล/อนาล็อก ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล 1 และ 0 ไปเป็นสัญญาณเสียงอนาล็อก แผ่นซีดีจะเก็บข้อมุลเสียงเอาไว้ในรูปแบบดิจิตอลรหัสไบนารี่ ข้อมูลแบบดิจิตอลมีความเที่ยงตรงสูง, ปราศจากเสียงรบกวนในกระบวนการบันทึก แต่สัญญาณดิจิตอลไม่ใช่คลื่นเสียงที่หูมนุษย์จะรับฟังได้ ตัวแปลงรหัสดิจิตอล/อนาล็อกจะทำการแปลรหัสดิจิตอลให้กลับมาอยู่ในรูปแบบเสียงเพลง นี่คือมูลเหตุสำคัญที่มันมีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องเล่นวิทยุซีดี

Digital Media Filer

เสียงเพลงในปัจจุบันถูกบีบอัดข้อมูล เพื่อให้สามารถบันทึกได้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นด้วยลักษณะของไฟล์คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวิทยุซีดีในปัจจุบันสามารถถอดรหัสและเล่นซีดีแบบบันทึก (CD-R/CD-RW) เพื่อเล่นไฟล์ MP3, WMA หรือ WAV ซึ่งเพียงแผ่นเดียวสามารถเล่นเพลงได้นานกว่า 10 ชั่วโมง 

 

Damping Factor

 

เป็นความสามารถของเพาเวอร์แอมป์ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของลำโพง ค่าแดมปิ้งที่สูงกว่าหมายถึงการให้ความแม่นยำได้ดีกว่า ค่าแดมปิ้งเฟคเตอร์ได้มาจากการหารอิมพีแดนซ์ของลำโพงด้วยอิมพีแดนซ์ที่เอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ แดมปิ้งเฟคเตอร์ของเพาเวอร์แอมป์จะลดลงเมื่ออิมพีแดนซ์ของลำโพงต่ำลง นั่นหมายถึงว่าเพาเวอร์แอมป์ที่ทำงานกับอิมพีแดนซ์ 4 โอห์มจะให้เสียงเบสได้แน่นหนักกว่า 2 โอห์ม

 

Digital Signal Processors

 

กล่องควบคุม DSP ถือเป็นผลิตภัณฑ์ผสม ที่นำเอาคุณสมบัติของอีคิวและเอคทีฟ-ครอสโอเวอร์มารวมไว้ด้วยกัน เพื่อขยายขีดความสามารถของการปรับแต่งพื้นที่การรับฟังและสนามเสียง กล่องควบคุม DSP สามารถเชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับเพาเวอร์แอมป์ ในบางกรณีอาจมีวงจรสัญญาณย้อนกลับเข้าไปยังเครื่องเล่นวิทยุซีดีไฮเพาเวอร์ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้เพาเวอร์แอมป์ภายนอก สามารถติดตั้งไว้ด้านหลังแผงหน้าปัดหรือใต้เบาะที่นั่ง ในอีคิวระดับไฮเอนด์บางเครื่องอาจมีตัวประมวลผลเสียงดิจิตอลบรรจุไว้ด้วย

 

Dual voice coil subwoofer

 

โดยปกติลำโพงจะมีวอยซ์คอยล์เพียงชุดเดียว แต่ซับวูฟเฟอร์วอยซ์คอยล์คู่ถูกออกแบบมาโดยมีข้อได้เปรียบตรงที่มีความยืดหยุ่นในการวางระบบสูงกว่า การเชื่อมสายในแบบขนานใช้สำหรับการสร้างเอาท์พุทสูงสุดจากเพาเวอร์แอมป์ ในขณะที่การเชื่อมสายในแบบอนุกรมจะทำให้สามารถต่อพ่วงซับวูฟเฟอร์ได้มากกว่าหนึ่งตัวกับเพาเวอร์แอมป์ โดยทำให้มีอิมพีแดนซ์รวมตามที่เพาเวอร์แอมป์รับได้ ในรูปแบบการต่ออนุกรม/ขนานร่วมกันทำให้สามารถเชื่อมสายซับวูฟเฟอร์วอยซ์คู่ได้ถึง 4 ตัวกับเพาเวอร์แอมป์เพียงเครื่องเดียว  

Dual Cone

ลำโพงในแบบกรวยร่วม เป็นการออกแบบที่เน้นให้มีราคาประหยัด โดยใช้กรวยแบบวิธเซอร์ (whizzer) ติดตั้งเอาไว้ตรงแกนกลางของวูฟเฟอร์เพื่อใช้ในการให้เสียงแหลมหรือย่านความถี่สูง

Equalizer 

 

ภาคอีคิวเสียงที่ติดตั้งอยู่ภายใน ที่ยอมให้ผู้ใช้ควบคุมรสนิยมของเสียงที่ต้องการและแก้ไขปัญหาสภาพเสียงของห้องโดยสาร โดยมีช่องของการปรับแต่งได้มากกว่าปุ่มทุ้ม/แหลมปกติ และมักกำหนดจุดกลางความถี่และความกว้างเอาไว้(ในบางเครื่องจะสามารถปรับได้อิสระ) ภาคอีคิวเสียงที่ติดตั้งอยู่ภายในส่วนใหญ่ จะเป็นแบบพาราเมตริคอีควอไลเซอร์ ที่ยอมให้มีการเพิ่มระดับหรือลดระดับของย่านเสียงนั้นๆ และสามารถปรับกว้าง/แคบและ/หรือปรับจุดกลางความถี่ได้ ทำให้การควบคุมสมดุลน้ำเสียงในรถของผู้ใช้สะดวกง่ายดายขึ้น

Equalizer Presets

 

เป็นการเก็บบันทึกกราฟของการปรับอีคิว การเพิ่มและลดความถี่ที่แตกต่างกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเสียงเพลงเสียงดนตรีอย่างมาก กราฟของการปรับอีคิวจะถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำและสะดวกในการนำกลับมาใช้ เพื่อช่วยในการฟังเพลงที่ดีที่สุดกับรูปแบบที่หลากหลาย อาทิเช่น หน่วยความจำหมายเลข 1ที่มีการเพิ่มเสียงเบสสำหรับการฟังเพลงแร็พหรือเร็กเก้ และหน่วยความจำหมายเลข 2 ที่ปรับเบสกลางๆและเพิ่มเสียงกลางเสียงแหลมสำหรับการฟังเพลงแจ๊ส

 

Efficiency or Sensititvity (SPL)

 

ประสิทธิผลหรือความไวตอบสนอง เป็นอัตราส่วนที่บ่งบอกให้ทราบว่าประสิทธิผลของลำโพงเป็นเช่นไร ในการแปลงกำลังไปเป็นเสียง ตัวเลขที่สุงกว่าหมายถึงประสิทธิผลที่มากกว่าของลำโพงและมีความดังมากกว่าเมื่อใช้กำลังขับเท่าๆกัน ความแตกต่างในระดับ 3 dB หมายถึงลำโพงต้องการกำลังขับเพียงครึ่งส่วนเมื่อเทียบกับลำโพงที่มีประสิทธิผลต่ำกว่า หากแต่ว่าลำโพงที่มีประสิทธิภาพสูงมักจะมีประสิทธิผลต่ำ จึงต้องใช้กำลังขับที่ค่อนข้างมากในการขับดันลำโพง 

Enclosure type   

 Sealed box เป็นตู้ลำโพงแบบปิดทึบที่มีตัวตู้ทำหน้าที่กักเก็บอากาศสำหรับซับวูฟเฟอร์ ตู้แบบปิดทึบจะดีที่สุดสำหรับการฟังเพลงที่ต้องการความแน่นหนัก, เสียงเบสที่ถูกต้อง ให้การตอบสนองที่ราบเรียบสม่ำเสมอ, ให้ย่านเสียงเบสได้ลึก และรองรับกำลังขับได้ดีเลิศ แต่นั่นก็หมายถึงตู้แบบปิดอาจต้องการกำลังจากเพาเวอร์แอมป์มากกว่าตู้แบบเปิดท่อระบาย โดยใช้เพาเวอร์แอมป์ที่มีกำลังวัตต์เพียงพอต่อประสิทธิภาพ

  Ported box เป็นตู้ลำโพงแบบเปิดท่อระบาย ที่ใช้ช่องอากาศ ที่เรียกว่าพอร์ท(port) ในการสร้างการไหลของอากาศจากด้านในออกด้านนอกตัวตู้ การเพิ่มการไหลของอากาศนี้ช่วยเสริมการตอบสนองเสียงเบสในย่านต่ำ โดยมีพลังที่เพิ่มขึ้นจากท่อระบายมากกว่าตู้แบบปิดทึบเมื่อเทียบกันที่กำลังขับของเพาเวอร์แอมป์เท่ากัน บางคนชอบใช้เสียงเบสจากตู้ลำโพงแบบเปิดท่อระบายนี้สำหรับการฟังเพลงแนวแร็พ, เทคโน หรือเพลงหนักๆ เพราะสามารถเล่นได้ในระดับความดังมากกว่าตู้แบบปิดทึบ

 Bandpass box เป็นตู้ลำโพงแบบผ่านเฉพาะช่วงความถี่ ที่ออกแบบท่อระบายเอาไว้เป็นพิเศษเพื่อการทำงานถึงขีดสุด ซับวูฟเฟอร์จะถูกติดตั้งอยู่ภายในตู้แบบสองห้อง โดยซับวูฟเฟอร์จะส่งแรงจากห้องตู้ปิดไปยังห้องตู้เปิด และคลื่นเสียงจะถูกส่งออกจากด้านที่เปิดท่อระบาย เสียงที่ไปถึงท่อระบายจะมีระดับความดังสุดขีดภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ ตู้แบบผ่านเฉพาะช่วงความถี่จะมีประสิทธิผลเยี่ยมยอด ให้เสียงที่ลงตัวกับแนวเพลงยอดนิยมอย่างฮิพ-ฮอพ, เทคโน และเฮฟวี่เมตอล

Free-air subwoofer ระบบเปิดอากาศอิสระ ประกอบด้วยการติดตั้งซับวูฟเฟอร์เอาไว้บนแผงลำโพงหลังหรือในห้องหลังเบาะนั่งตอนหลัง โดยใช้ห้องสัมภาระท้ายรถทำหน้าที่เป็นตู้กักเก็บอากาศให้กับซับวูฟเฟอร์ ระบบเปิดอากาศอิสระจะประหยัดเนื้อที่และให้การตอบสนองที่ราบรื่น ซับวูฟเฟอร์ที่ใช้จะต้องถูกออกแบบเป็นพิเศษเพื่อใช้กับระบบเปิดอากาศอิสระ และห้องสัมภาระท้ายรถจะต้องไม่มีการรั่วไหลของอากาศจึงจะให้ผลลัพท์ที่ดี

Frequency Response

 

เป็นขอบเขตของเสียง จากย่านต่ำสุดถึงสูงสุด ที่อุปกรณ์เครื่องเสียงสเตอริโอนั้นๆสามารถทำได้ มีหน่วยวัดเป็น เฮิร์ต(Hz) ขอบเขตที่กว้างมากจะดีกว่า โดยย่านต่ำจะเป็นส่วนของเสียงเบสและย่านสูงจะเป็นส่วนของเสียงแหลม มนุษย์เราสามารถรับรู้เสียงได้จาก 20 ถึง 20,000 Hz โน้ตเสียงตัวต่ำของกีต้าร์เบสจะอยู่ที่ประมาณ 41 Hz เสียงนักร้องชายจะอยู่ในช่วงระหว่าง 100 และ 500 Hz เสียงตีแฉจะอยู่ในช่วงประมาณ 15,000 Hz

Ferro fluids

 

เฟอร์โร-ฟลูอิด มักถูกใช้เพื่อการระบายความร้อนที่เกิดขึ้นในวอยซ์คอยล์ของลำโพง เฟอร์โร-ฟูลอิดมีสภาพเป็นแม่เหล็กเพียงแต่ไม่มีรูปทรงตายตัว จึงมีส่วนช่วยเสริมอำนาจสนามแม่เหล็กให้กับแม่เหล็กของลำโพงด้วย

Frequency range

 

เป็นช่วงขอบเขตของเสียงจากต่ำสุดไปถึงสูงสุดที่ซับวูฟเฟอร์สามารถให้ออกมาได้ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ถุกนำเสนอจากผู้ผลิตแต่ละราย ขอบเขตเสียงที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกแบบตู้, จุดตัดความถี่ และยานพาหนะเพื่อติดตั้งซับวูฟเฟอร์ได้สะดวก

 

Graphic EQ

 

เป็นมาตรฐานของอีควอไลเซอร์ประเภทหนึ่ง ที่มีปุ่มควบคุมเสียงตั้งแต่ 5 ถึง 30 ปุ่มปรากฏอยู่ การปรับเลื่อนขึ้น/ลงหรือหมุนซ้าย/ขวาจะเป็นการเพิ่ม/ลดย่านความถี่นั้นๆ สามารถควบคุมน้ำเสียงของเพลงหรือดนตรีได้สมบูรณ์สูงสุด ความกว้างแถบคลื่นของแต่ละความถี่จะถูกกำหนดตายตัวและไม่สามารถปรับเปลี่ยนไป

High-pass Filter

การกรองเสียงผ่านเฉพาะเสียงย่านที่สูงกว่า จะยอมให้ความถี่เสียงที่อยู่สูงกว่าจุดตัดความถี่ผ่านออกไป และขวางกั้นความถี่เสียงที่อยู่ต่ำกว่าจุดตัด

 

Imaging

จินตภาพที่บังเกิดขึ้นจากระบบเสียงสเตอริโอ ที่ปรากฏตำแหน่งของชิ้นดนตรีและนักร้องตามแบบแผนที่แท้จริงขณะทำการบันทึก จินตภาพที่สมบูรณ์จะสร้างประสบการณ์ในการฟังที่ดุราวกับเป็นธรรมชาติและมีชีวิตชีวา กุญแจสำคัญอยู่ที่ดำแหน่งการวางลำโพงที่จะต้องให้เสียงได้ทัดเทียมกันบริเวณผู้ฟัง รวมถึงระยะห่างที่เหมาะสมของทวีตเตอร์กับหูผู้ฟัง การแยกติดตั้งทวีตเตอร์อาจสามารถปรับมุมองศาได้เหมาะสม แต่บางครั้งลำโพงแบบรวมชิ้นกลับสามารถสร้างจินตภาพได้สมบูรณ์กว่า

Impedance

 

เป็นการบ่งบอกถึงแรงต้านต่อกระแสที่ไหลผ่านในวงจร วัดออกมาในหน่วยโอห์ม(ohms) ซับวูฟเฟอร์ที่มีอิมพีแดนซ์ 2 โอห์มจะให้กำลังได้มากกว่าซับวูฟเฟอร์ที่มีอิมพีแดนซ์ 4 โอห์ม เมื่อใช้กำลังวัตต์ที่เท่ากัน เป็นเพราะว่าความต้านทานภายในที่น้อยกว่า

 

Mono Amplifier

เพาเวอร์แอมป์โมโนจะมีภาคขยายอยู่เพียงแชนแนลเดียว มักใช้ได้ผลดีกับย่านความถี่ต่ำที่หูมนุษย์เองไม่สามารถแยกแยะทิศทางได้ อีกทั้งเพาเวอร์แอมป์โมโนจะสามารถเล่นกับโหลด 2 โอห์มได้อย่างมั่นคง โดยผุ้ใช้สามารถต่อวูฟเฟอร์ 4 โอห์มขนานกัน 2 ตัวได้อย่างสบาย

MOSFET 

ย่อมาจาก Metal Oxide Semiconductor Field Effect Transistors เป็นทรานซิสเตอร์ที่มีความเร็วในการสวิทช์สูงกว่าทรานซิสเตอร์แบบไบโพล่าร์ และกำเนิดความร้อนในปริมาณที่น้อยกว่ามาก MOSFET’s จึงให้การตอบสนองที่รวดเร็วและมีประสิทธิผลสูง 

 

Maximum RMS Power Handling

การรองรับกำลังขับสูงสุดแบบ RMS จะใช้บ่งบอกให้ทราบถึงจำนวนกำลังขับที่ลำโพงสามารถรองรับได้ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง 

 

Midrange Speaker

 

เป็นลำโพงที่มีขนาดอยู่ระหว่าง 3-1/2 นิ้วถึง 6-3/4 นิ้ว ที่ถูกใช้เพื่อการออกเสียงเฉพาะย่านความถี่กลาง การแยกลำโพงขับเฉพาะย่านเสียงกลางมักใช้เป็นส่วนหนึ่งของชุดลำโพง หรือใช้ในระบบที่แยกเพาเวอร์แอมป์ขับเฉพาะความถี่ต่ำ,ความถี่กลาง และความถี่สูง เพื่อให้มีการแยกแยะรายละเอียดเสียงได้ดีกว่า

Neodymium magnet

นีโอไดเมี่ยม เป็นหนึ่งในหลายๆชนิดของเหล็กที่นำมาใช้ มีขนาดเล็ก, อำนาจแม่เหล็กสูง แม่เหล็กนีโอไดเมี่ยมจะใช้กันทั่วไปในทวีตเตอร์

OHM

 

หน่วยวัดอิมพีแดนซ์หรือความต้านทาน เพื่อบอกให้ทราบว่ามีจำนวนของการต้านต่อการไหลของกระแสมากน้อยเพียงใด ถ้าใช้สัญญาณ 2 สัญญาณที่เหมือนๆกันป้อนเข้าลำโพง สัญญาณแรกป้อนเข้าลำโพง 4 โอห์ม และอีกสัญญาณป้อนเข้าลำโพง 8 โอห์ม กระแสที่ไหลในลำโพง 4 โอห์มจะมากกว่าเป็นสองเท่า หรืออีกนัยหนึ่งก็อาจกล่าวได้ว่าลำโพง 8 โอห์มต้องการกำลังวัตต์มากกว่าเป็นสองเท่าในความดังเสียงที่เท่าๆกัน

 

Resistance

 

เป็นการบ่งบอกให้ทราบถึงการไหลของกระแสไฟฟ้า ความต้านทานมีหน่วยวัดเป็นโอห์ม(Ohms)

Peak Power

 

กำลังสุดขีดเป็นหน่วยวัดเมื่อเสียงเพลงเริ่มมีความพร่าเพี้ยน เช่นเมื่อมีการหวดไม้กลองลงบนหนังกลองอย่างฉับพลัน ผู้ผลิตบางรายจะบอกกำลังขับสุดขีดนี้ไว้ในผลิตภัณฑ์ของตน แทนการบอกอัตรากำลังเฉลี่ย(RMS)ที่มีนัยยะมากกว่า และเราอยากแนะนำให้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อการตัดสินใจเลือกใช้อย่างเหมาะสม

 

Peak Power Handling

การรองรับกำลังขับสูงสุด จะใช้บ่งบอกถึงจำนวนของกำลังวัตต์ที่ลำโพงจะรับได้โดยไม่เกิดเสียงพร่าเพี้ยน

RMS Power

เป็นจำนวนของกำลังที่มีอย่างต่อเนื่อง วัดในหน่วยเป็นวัตต์(watts) ที่เพาเวอร์แอมป์สามารถผลิตออกมาได้ เรียกกันว่าเป็นกำลังแบบ Root Mean Square(RMS) กำลัง RMS ที่สูงกว่าหมายถึงความสะอาดของเสียงเพลงจะมีมากกว่าแม้ในระดับความดังสูงๆ 

 

RMS Power vs. Peak Power

เป็นจำนวนความต่อเนื่องของกำลัง ที่วัดต์ในหน่วยเป็นวัตต์(Watts) ที่เพาเวอร์แอมป์สามารถผลิตออกมาได้ เรียกกันว่า กำลัง RMS” ดังนั้นกำลัง RMS ที่มากๆย่อมหมายถึงเสียงดนตรีที่กระหึ่มและสะอาดชัดไม่รกหู เมื่อต้องเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์ ตัวเลขที่เป็น RMS คือข้อมูลสำคัญในการพิจารณา     นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายจะใช้การคำนวณกำลังวัตต์ RMS ในตัวเพาเวอร์แอมป์จากกำลังไฟที่ป้อนจ่าย ตัวอย่างเช่น เพาเวอร์แอมป์เครื่องหนึ่งมีกำลังวัตต์ 100 W-RMS ที่ไฟ 12 โวลท์ ซึ่งสามารถให้กำลังที่มากกว่า 100 W-RMS ขึ้นไปอีกเมื่อใช้กับไฟ 14.4 โวลท์   บ่อยครั้งที่ผู้ผลิตเครื่องเสียงรถยนต์ จะแสดงข้อมูลกำลังวัตต์แบบสูงสุด(Peak Power)เอาไว้ในคู่มือเครื่อง ซึ่งข้อมูลกำลังวัตต์สูงสุดนี้บอกให้ทราบถึงกำลังวัตต์มากที่สุดที่เพาเวอร์แอมป์สามารถจ่ายออกมาได้ ในขณะที่เสียงดนตรีมีการพุ่งขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่นการหวดกลองสแนร์แบบรวดเร็ว และเมื่อพิจารณาทั้งหมดแล้วกำลังวัตต์ RMS จะมีลำดับความสำคัญอย่างมาก

RMS Power at 2 ohms

เป็นข้อมูลที่จะบอกให้ทราบว่า มีกำลังมากเพียงใดที่เพาเวอร์แอมป์สามารถจ่ายได้เมื่อต่อสเตอริโอที่ 2 โอห์ม โหลด 2 โอห์มทำได้ด้วยการต่อลำโพง 4 โอห์ม 2 ชุดขนานกัน หรือใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ 2 โอห์มโดยตรง    ตามทฤษฎีพื้นฐาน เอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ทั่วไปสามารถรับอินพีแดนซ์ที่ต่ำกว่า 1 เท่า จากอิมพีแดนซ์ปกติ 4 โอห์มจะรับได้ถึง 2 โอห์ม แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของภาคจ่ายไฟที่จะสามารถจ่ายกระแสได้เพิ่มขึ้นด้วยหรือเปล่าด้วย ถ้ากระแสไม่เพิ่มกำลังวัตต์ก็ไม่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

Preamp Output voltage

 

ระดับโวลท์ขาออกของส่วนเอาท์พุทในตัววิทยุซีดี ที่มีระดับโวลท์ขาออกมากกว่า สามารถให้เสียงที่สะอาด(มีความต่อต้านกับเสียงรบกวนดีกว่า) และให้กำลังที่สูงกว่าเมื่อต่อเข้าเพาเวอร์แอมป์

 

Preamp output

ขั้วต่อสัญญาณออก ที่มีไว้สำหรับการเชื่อมต่อสัญญาณไปยังเพาเวอร์แอมป์ และในบางกรณีอาจนิยามถึงครอสโอเวอร์ภายในเพาเวอร์แอมป์เครื่องแรก ที่สามารถจ่ายสัญญาณส่วนอื่นไปยังเพาเวอร์แอมป์เครื่องต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งครอสโอเวอร์เพิ่ม 

 

Parametric EQ

 

พาราเมตริคอีควอไลเซอร์หรือโทนคอนโทรลนั้น จะยอมให้ผู้ใช้ปรับตั้งได้อิสระไม่เฉพาะแต่เเรื่องความดังของความถี่ที่ต้องการปรับเพิ่ม/ลดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความกว้างแถบคลื่น และจุดความถี่ในแต่ละตำแหน่งปรับ จึงให้การปรับแต่งสมดุลเสียงในห้องโดยสารรถยนต์ได้ถูกต้องแม่นยำสุดขีด

Passive Crossover

 

พาสซีฟครอสโอเวอร์ เป็นพื้นฐานการทำงานของคาปาซิเตอร์หรือคอยล์ที่ติดตั้งเป็นวงจรในระหว่างทางสายลำโพง โดยต่ออยู่ระหว่างเพาเวอร์แอมป์กับลำโพง เพื่อกำหนดความถี่ที่จะป้อนไปยังลำโพงแต่ละตัว พาสซีฟครอสโอเวอร์มีราคาถูกและง่ายต่อการติดตั้ง

Power Handling(RMS)

เป็นความต่อเนื่องของคลื่นเสียงมากที่สุด ที่สามารถจ่ายให้กับลำโพงได้โดยไม่มีความเสียหาย วัดออกมาในหน่วยวัตต์ RMS ซึ่งลำโพงส่วนมากจะเกิดความเสียหายได้จากสาเหตุหลัก 2 สาเหตุคือ

   1.ลำโพงนั้นถูกขับดันด้วยกำลังที่มากกว่าจะรับได้อย่างมากๆ และมีความร้อนเกินปกติ

   2.เพาเวอร์แอมป์ขับดันออกไปในขณะที่มีอาการตัดยอดคลื่น(clipping) เกิดคลื่นสี่เหลี่ยมที่ผิดเพี้ยนรูปทรงอย่างรุนแรง ซึ่งมีโอกาสทำลายลำโพงได้เช่นกัน

Peak power

 

เป็นจำนวนของกำลังวัตต์ที่ซับวูฟเฟอร์จะรองรับได้สูงสุดในระหว่างที่เสียงเพลงมีการพุ่งสูงขึ้น จึงไม่ควรใช้กำลังวัตต์ขับซับวูฟเฟอร์ในขนาดกำลังวัตต์เท่าๆกับที่ซับวูฟเฟอร์รับได้สูงสุด

Pearl polycarbon

เป็นการรวมฟิลม์โพลีเอสเตอร์กับคาร์บอนเข้าด้วยกัน เฟิร์ล-โพลี่คาร์บอนจะมีน้ำหนักเบามากแต่ยังแข็งแกร่ง ใช้งานได้ดีกับทวีตเตอร์

Polycarbonate

เป็นการผสมฟิลม์โพลีเอสเตอร์เข้ากับคาร์บอนเพื่อให้ผลทางความแข็งแกร่ง เป็นวัสดุที่ไร้ซึ่งการสั่นสะท้าน ให้เสียงแหลมที่สดใส สามารถผลิตในหลายๆสีสัน

Polyester foam

เป็นวัสดุที่ผสมโพลี่เอสเตอร์เข้ากับโฟม ให้ความแข็งแรงและเชื่อถือได้ มักใช้เป็นขอบรอบกรวยลำโพง

 Polymer/mica

เป็นฟิลม์โพลีเมอร์ เช่นโพลี่โพรไพลีน ที่ถูกทำให้แข็งแกร่งขึ้นโดยการผสมเข้ากับไมก้า

Polypropylene

 

เป็นวัสดุยอดนิยมสำหรับใช้ในลำโพงรถยนต์ โพลี่โพรไพลีนให้ความแข็งแกร่ง, มีการยับยั้งตัวเองได้ดี และทนทานต่อความเปียกชื้นได้สมบูรณ์แบบ

Resonance

เป็นการสั่นสะเทือนของกรวยลำโพง ซึ่งกรวยลำโพงทั่วไปจะมีการสั่นสะเทือนในความถี่ที่ถูกต้อง การก้องสะเทือนที่มากเกินไปจะทำให้ความเที่ยงตรงในการทำงานของลำโพงน้อยลงไป

 

Signal-to-Noise Ratio

 

หน่วยวัดที่บ่งบอกให้ทราบถึงคุณสมบัติที่ดีของเครื่องเล่นซีดี ในเรื่องของเสียงรบกวนเบื้องหลังที่เงียบสงบ อัตราส่วนที่สูงกว่า(หน่วยเป็น dB)บอกให้ทราบถึงเสียงรบกวนที่น้อยกว่า

Signal-to-Noise Ratio

 

หน่วยวัดเป็นเดซิเบล(dB) ที่เป็นข้อมูลเปรียบเทียบสัดส่วนของสัญญาณเสียง(เพลง)กับส่วนของเสียงรบกวนฉากหลัง ค่าที่มีจำนวนมากๆจะชี้ให้เห็นว่ามีเสียงรบกวนอยู่น้อยเพียงใด

Subwoofer Preamp Output

 

แจ็คเอาท์พุท RCA ด้านท้ายเครื่อง(โดยปกติมักมีภาคกรองเฉพาะย่านความถี่ต่ำผ่าน อยู่พร้อมใช้งาน) สำหรับต่อตรงเข้าไปที่เพาเวอร์แอมป์ขับซับวูฟเฟอร์

Spectrum Analyzer

 

เครื่องวิเคราะห์แถบเสียง เป็นการแสดงขนาดของแท่งแนวตั้งที่เคลื่อนไหวไปตามเสียงที่บันทึกเข้ามา โดยแบ่งเป็นจุดความถี่แตกต่างกันตามความเหมาะสม อีควอไลเซอร์แบบดิจิตอลส่วนใหญ่มักจะมีเครื่องวิเคราะห์แถบเสียงติดตั้งไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ปรับแต่งได้ใช้เป็นแนวทางในการปรับสัดส่วนการตอบสนองความถี่ เครื่องวิเคราะห์แถบเสียงสามารถนำมาใช้ในระบบได้ หากต้องการเห็นจังหวะการเปลี่ยนแปลงของเสียงเพลง

Subwoofer Level Control

 

อีควอไลเซอร์ทั่วไปมักจะมีปุ่มควบคุมความดังชุดซับวูฟเฟอร์ติดตั้งอยู่ด้วย มันจะเพิ่มหรือลดสัญญาณที่จะถูกส่งไปยังซับวูฟเฟอร์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือลดเสียงเบสได้ตามความต้องการ

Sound Pressure Level (SPL)

 

SPL จะวัดในหน่วย dB เป็นการวัดสภาพแวดล้อมของพลังงานเสียง โดยมีค่า 1 dB SPL เป็นความแตกต่างของเสียงเล็กสุดในระดับของเสียง, และค่า 0 dB SPL เป็นจุดตั้งต้นการได้ยินของหูมนุษย์ โดยการวัดความดังในระดับ 120 dB อาจจะทำลายการได้ยินของมนุษย์

Speaker-level input

 

จุดต่อเข้าแบบสายลำโพง ที่มีไว้เพื่อการเชื่อมต่อเพาเวอร์แอมป์กับวิทยุซีดีที่ไม่มีแจ็คสัญญาณ RCA

Subsonic Filter

 

เป็นการกรองความถี่ที่อยู่ต่ำกว่าย่านเบสต่ำทิ้งไป ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่เพาเวอร์แอมป์ทั่วไปไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว อันมีผลทำให้ภาคจ่ายไฟของเพาเวอร์แอมป์และอุปกรณ์เอาท์พุท รวมถึงลำโพงมีประสิทธิผลสูงขึ้น

Soundstage

 

เวทีเสียงนั้น ถูกใช้เพื่อบ่งบอกถึงความกว้าง, ความลึก และความสูงของเนื้อเสียงรวมที่ได้ยินได้ฟัง ให้ความรุ้สึกถึงการวางชิ้นดนตรีในบริเวณต่างกันบนเวทีเล่นจริง, เสียงร้อง/เสียงดนตรีที่แยกตำแหน่งได้อิสระ เมื่อรวมจินตภาพจากระบบเสียงสเตอริโอเข้ากับเวทีเสียงจะทำให้เกิดการฟังเพลงที่เปี่ยมอรรถรส

 

Surround

 

ขอบรอบลำโพง มักเป็นวัสดุยืดหยุ่นที่ทำเป็นรูปวงแหวนติดอยู่โดยรอบกรวยวูฟเฟอร์ ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างกรวยกับโครงลำโพง ซึ่งต้องมีแนวรั้งที่มากพอให้วุฟเฟอร์เคลื่อนตัวได้อิสระ ทั้งยังต้องมีแรงเค้นที่มากพอจะควบคุมการเคลื่อนตัวของกรวยวูฟเฟอร์ด้วย ขอบรอบลำโพงส่วนใหญ่จะใช้วัสดุประเภทผ้า, โฟม หรือยาง ซึ่งวัสดุประเภทยางถือว่าให้การใช้งานได้ยาวนานที่สุด

 

Silk

 

ไม่ได้หมายถึงคำว่า นุมนวลดุจใยไหมนะครับ จริงๆแล้วใยผ้าไหมเป็นวัสดุที่นิยมกันมากสำหรับออกแบบทวีตเตอร์ เพราะว่ามันให้เสียงที่ราบรื่น, เปิดโล่ง และระยิบระยับ และเพื่อประสิทธิภาพที่สูงขึ้นบางครั้งต้องมีการเคลือบหรือผสานกับวัสดุอื่น ซึ่งมักทำให้มีราคาสุงขึ้นด้วย

 

Silk/polymer composets

 

เป็นใยผ้าไหมที่ผนวกรวมกับวัสดุโพลีเมอร์ เพื่อทำให้เกิดความแข็งแกร่งเพียงพอกับการนำไปใช้ทำทวีตเตอร์

Strontium magnet

เป็นโลหะเหล็กที่นำมาใช้ทำเป็นวงขนาดเล็ก, ให้อำนาจแม่เหล็กสูง นำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับทวีตเตอร์รถยนต์

Tri-Way Crossover

 

ครอสโอเวอร์แบบ 3 ทิศทาง จะทำให้เพาเวอร์แอมป์สเตอริโอ 1 เครื่อง(2 แชนแนล) สามารถขับชุดลำโพงซ้าย/ขวาพร้อมกับซับวูฟเฟอร์ 1 ตัวได้ โดยมีสายลำโพงต่อเข้าครอสโอเวอร์เพียง 2 ชุด(ซ้าย/ขวา) แต่มีจุดต่อออกสายลำโพงเป็น 3 ชุด(ซ้าย/ซับ/ขวา) ดังนั้นลำโพงซ้าย/ขวาจะรับกำลังวัตต์ในแต่ละแชนแนล ในขณะที่ซับวูฟเฟอร์จะรับกำลังวัตต์ในลักษณะการบริดจ์กำลัง

 

Tri-Way Output

บางครั้งอาจเรียกว่า โหมดควบคู่”(Dual Mode) เป็นการปรับตั้งให้เพาเวอร์แอมป์ขับลำโพงสเตอริโอ 1 คู่ร่วมกับซับวูฟเฟอร์อีก 1 ตัว โดยจำลองกำลังวัตต์เอาจากเพาเวอร์แอมป์ 2 แชนแนลให้สามารถใช้ขับซับวูฟเฟอร์ได้ด้วย และต้องทำงานร่วมกับตัวเชื่อมต่อ 3 ทิศทาง”(Tri-Way adapter) ที่ต่อไว้ระหว่างเพาเวอร์แอมป์กับชุดลำโพงในระบบ

 

Time Correction

 

วงจรประมวลผลที่เริ่มมีให้เห็นกันในเครื่องเสียงรถยนต์ เพื่อใช้ชดเชยระยะห่างระหว่างลำโพงด้านซ้ายและด้านขวาของรถยนต์กับตำแหน่งของผู้ฟัง สัญญาณของลำโพงตัวที่อยู่ใกล้สุดจะมีการหน่วงเวลาตามความเหมาะสม นั่นจะมีผลทำให้ผู้ฟังมีความรู้สึกเสมือนนั่งฟังอยู่กึ่งกลางระหว่างลำโพงทั้งสองด้าน ให้ความเสมือนของจินตนาการเสียงสเตอริโอได้ถูกต้องแม่นยำ

 

Spider

 

ลอนยึดกรวยลำโพง(ที่รู้กันว่ามันช่วยยึดตรึงกรวยลำโพง) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของกรวยลำโพง และยึดตรึงวอยซ์คอยล์ให้ตั้งอยู่กึ่งกลาง คล้ายกับโช๊ครับแรงสั่นสะเทือนในรถยนต์ที่ให้ความนุ่มนวลในการขับขี่

Titanium

 

ไตตาเนี่ยมเป็นวัสดุที่แข็งแกร่ง, ทนความร้อนสูง และเบา มักใช้กันในทวีตเตอร์ แม้ว่าบางครั้งอาจนำไปใช้เป็นชั้นเคลือบอยู่บนโพลีเมอร์ที่ทำกรวยวูฟเฟอร์ คุณสมบัติหลักจะให้เสียงแหลมที่คมชัดลึก

 

Two-way speaker

 

ลำโพง 2 ทางหรือโคแอ็คเชียล เป็นการนำเสนอเสียงผ่านทางลำโพง 2 แบบที่แยกส่วนกัน โดยมีทวีตเตอร์ติดตั้งอยู่ภายในวูฟเฟอร์สำหรับการให้เสียงแหลม และวูฟเฟอร์สำหรับการให้เสียงทุ้ม

Three-way speake

 

ลำโพง 3 ทางหรือไตรแอ็คเชียล เป็นลำโพงที่แยกส่วนของวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์ในลักษณะเดียวกับลำโพง 2 ทาง แต่มีการเพิ่มมิดเรนจ์สำหรับขับแยกเฉพาะเสียงกลาง หรือบางยี่ห้อก็เลือกเพิ่มซุปเปอร์ทวีตเตอร์แทนมิดเรนจ์ เพื่อขยายแนวส่วนของเสียงแหลมให้กว้างออกไป ส่วนลำโพง 4 ทาง ก็จะประกอบด้วยวูฟเฟอร์, มิดเรนจ์, ทวีตเตอร์ และซุปเปอร์ทวีตเตอร์เพื่อให้รายละเอียดของเสียงได้มากกว่า

Tweeter

เป็นตัวขับเสียงขนาดเล็กที่ออกแบบมาเพื่อการให้เสียงความถี่สูง(เสียงแหลม) กรวยทวีตเตอร์มักมีประสิทธิผลสูงและต้นทุนต่ำ ตัวทวีตเตอร์มักเป็นทรงโดมและทรงกลมแบบเดียวกับที่พบเห็นกันในลำโพงบ้าน ให้มุมกระจายเสียงเป็นบริเวณกว้าง โดยมีความราบรื่นในการให้เสียงอย่างถูกต้อง ทวีตเตอร์แบบสมมาตรจะใช้รูปทรงโดมและทรงกลมร่วมกัน จึงให้เสียงแหลมที่สะอาดชัดเป็นเลิศและแผ่เสียงเป็นบริเวณกว้างมากๆ  ทวีตเตอร์อาจทำขึ้นจากวัสดุหลากหลายเช่น โลหะ, กระดาษ, อลูมิเนี่ยม, ไตตาเนี่ยม หรือแผ่นฟิลม์สังเคราะห์จากโพลีเธอริไมด์(PEI)หรือคาราเด็ค(polyethylene naphthalate) ซึ่งให้ผลในการรับฟังแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของผู้ฟัง

Voice coil

วอยซ์คอยล์ ก็เป็นคอยล์ที่พันเอาไว้ด้วยขดลวดภายในลำโพงเพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก เพื่อช่วยเหลือส่วนประกอบอื่นๆของลำโพง โดยวอยซ์คอยล์จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้อยู่ในรูปพลังงานเชิงกลที่ใช้ในการผลิตเสียง ลำโพงทั่วไปในปัจจุบันจะมีวอยซ์คอยล์ที่ทนทานความร้อนได้สูง จึงให้การใช้งานได้ยาวนานกว่า

Voice coil former

 

โครงวอยซ์คอยล์ เป็นส่วนประกอบหนึ่งของลำโพงที่มีเส้นลวดพันอยู่โดยรอบ โดยทั่วไปจะทำขึ้นจากวัสดุที่ทนความร้อนได้สูง อาทิเช่นอลูมินั่มหรือเคปตั้น

Voice Coil Cooling System (VCCS)

 

เป็นระบบที่ใช้อยู่ในวูฟเฟอร์ของไพโอเนียร์ ใช้ระบายความร้อนออกจากภายในตัวซับวูฟเฟอร์ ที่มักเป็นสาเหตุของความเพี้ยน ความร้อนจะถูกถ่ายนำจากวอยซ์คอยล์อลูมินั่มผ่านไปยังแท่งอลูมินั่มที่อยู่กึ่งกลางโดยตรง จึงสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่า ซึ่งระบบแบบนี้มีใช้กันในซับวูฟเฟอร์ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ให้ผลการทำงานที่เพิ่มขึ้น

Woofer

 

เสียงเบสและความถี่ย่านต่ำอื่นๆมักถูกนำเสนอโดยวูฟเฟอร์ ซึ่งเป็นลำโพงที่มีกรวยขนาดใหญ่ โดยประสิทธิผลของการทำงานจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ผลิตกรวย ที่จะต้องมีน้ำหนักเบาและแข็งแกร่ง กรวยมักทำขึ้นจากอลูมินั่ม, ฟิลม์สังเคราะห์(คล้ายๆกับโพลี่โพรไพลีน), ผสมระหว่างโพลี่กับวัสดุอื่น(เช่น ไมก้า) หรือกระดาษอัดแน่น เพื่อให้ได้เสียงที่ดีเยี่ยม และทนทานต่อความร้อน, ความเย็น และความชื้น ตามสภาพแวดล้อมภายในรถได้ดีด้วย

ero-bit Detector

 

วิทยุซีดีบางรุ่นจะมีคุณสมบัติของวงจรพิเศษที่ใช้ตรวจจับช่วงว่างของสัญญาณ(ช่วงที่ไม่มีเสียง)และระงับเสียงที่มีออกทางเอาท์พุท ทำให้ผุ้ใช้ได้ยินเสียงที่เงียบสงัดจนกว่าจะมีสัญญาณเสียงปรากฎอีกครั้ง

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก http://www.khuangsingha.com/forum/index.php?topic=1790.0

 

 




ความรู้ด้านระบบเสียง

Phantom Power +48Vdc คืออะไร มีไปทำไม เพื่ออะไร
มาทำความรู้จักกับ Connector แบบ COMBO article
การปรับแต่ง / การใช้งาน อีควอไลเซอร์ (EQUALIZER)
เข้าใจลึกซึ้งเรื่อง...ไมโครโฟน article
ไก่งามเพราะขน...ดนตรีไพเราะเพราะการแต่งเสียง article
รูปแบบการต่อสายสัญญาณ article
รูปแบบการต่อลำโพงเข้าเครื่องขยายเสียง article