การปรับแต่ง / การใช้งาน อีควอไลเซอร์ (EQUALIZER)
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot


  [Help]
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
dot
รับชำระเงินทางธนาณัติออนไลน์ www.tpesound.com
dot
dot
www.tpesound.com
dot
dot
dot
dot
TAPCO 260FX www.tpesound.com
dot
dot
dot
dot
MODIFY, โมดิฟาย
dot
dot
PROEURO TECH, ยูโรเทค
dot
dot
AJ, A&J, AUDIO JOCKEY
dot
dot
ALTO, LTO
dot
bulletNPE


บริษัท นัฐพงษ์เซลล์แอนด์เซอร์วิส จำกัด
yamaha, ยามาฮ่า, ดนตรี, ระบบเสียง
Behringer, เบอร์ริงเจอร์
P.AUDIO, P Audio, ดอกลำโพง


การปรับแต่ง / การใช้งาน อีควอไลเซอร์ (EQUALIZER)

การปรับแต่ง / การใช้งาน อีควอไลเซอร์ (EQUALIZER)

              

       วัตถุประสงค์ของการปรับแต่ง EQ ก็คือ ต้องการให้ระบบเสียงโดยรวมที่ออกมาจากลำโพงนั้นมีความถี่เสียงทุกเสียงดังออกมาเท่าๆกัน พูดง่ายๆก็คือ ต้องการให้ เสียงทุ้ม เสียงกลาง เสียงแหลม มีระดับความสมดุลย์ของความดังให้มากที่สุด
       ในระดับความดังน้อยๆ (เสียงค่อย)นั้น...... หูมนุษย์จะตอบสนองกับเสียงทุ้มและเสียงแหลมน้อยมาก คือ ไม่ค่อยได้ยินนั่นเอง แต่จะได้ยินเสียงกลางมากที่สุด
เครื่องเสียงชั้นดีโดยทั่วๆไปนั้น จะผลิตความดังของทุกย่านความถี่ออกมาเท่าๆกันอยู่แล้ว
แต่ดังที่กล่าวแล้วว่า ในระดับความดังต่ำๆ เราจะไม่ได้ยินเสียงทุ้ม กับเสียงแหลม ทั้งที่มันก็ดังน่ะแหละ แต่เราไม่ได้ยินซะเอง ดังนั้นเครื่องเสียงส่วนใหญ่ จึงให้วงจรชดเชยมาอันนึง ที่เราเห็นว่าเป็นปุ่ม loudness น่ะแหละ....ถ้าเรากดปุ่มนี้ลงไป เราจะรู้สึกได้ทันทีว่า เสียงดีขึ้น เพราะเราได้ยินเสียงครบทุกย่านความถี่ นั่นเพราะ วงจร loudness จะไปยกระดับความดังของเสียงทุ้ม กะเสียงแหลมขึ้นมา เพื่อชดเชยกับความสามารถของหูมนุษย์
ในที่นี้............. loudness ก็ทำหน้าที่ EQ ให้เราไงครับ
         ทีนี้...........สำหรับนักเล่นที่พิถีพิถันขึ้นมาอีกหน่อย หรือในวงการของ concert หรือ house PA ทั้งหลายแหล่...............แค่ loudness มันไม่พอหรอกครับ
เพราะว่า............แต่ละสถานที่...แต่ละเวที...แต่ละสิ่งแวดล้อม...แต่ละห้อง
มันไม่เหมือนกันเลย......แต่ละแห่งก็ต้องการการปรับแต่ง EQ
ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสิ่งแวดล้อมตัวเองทั้งนั้น
EQ ขนาดปานกลางส่วนใหญ่ มักจะมีข้างละ 10 แบนด์ ตั้งแต่ 64 Hz - 16KHz (16,000 Hz ) เพราะเค้าถือว่า ย่านความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน จะอยู่ในช่วงนี้ ส่วนที่ต่ำกว่านี้ และที่สูงกว่านี้ เราจะไม่ค่อยได้ยินแล้ว (ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์...เค้าบอกว่า เราจะได้ยิน ตั้งแต่ 20 - 20000 Hz แต่ตามความเป็นจริงแล้ว....มนุษย์ผู้ใหญ่อย่างเรา ไม่ได้ยินถึงขนาดนั้นหรอกครับ ถ้าเป็นเด็กทารกล่ะอาจจะใช่)
วิธี ปรับ EQ ที่ง่ายที่สุด ก็คือ ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Spectrum analyzer.... ไอ้เจ้า Spectrum analyzerเนี่ย...มันจะผลิตสัญญานที่เรียกว่า Pink noise ออกมา
(เป็นเสียงซ่าๆ...ฟังแล้วรำคาญหูชมัด)
เจ้า Pink noise นี่มีสัญญานความถี่ออกมาครบทั้งย่านเลยนะครับ ตั้งแต่ 20-20000 Hz เลยหละ
เมื่อเราเอาไอ้สัญญาน Pink noise ที่ได้มาจาก Spectrum analyzer เนี่ย
ต่อเข้ากับระบบของเรา...เราก็จะได้ยินเสียงซ่าออกมาจากลำโพง
จากนั้นก็เอา Microphone ชนิดพิเศษที่มีความไวสูง (มันมักจะให้มาพร้อมกับ Spectrum analyzer อยู่แล้ว
)......มาต่อเข้ากับ Spectrum analyzer แล้วเอาไอ้ Mic เนี่ย ไปวางไว้ตรงตำแหน่งที่นั่งฟัง คราวนี้ เราก็มาดูที่หน้าจอของ Spectrum analyzer เราก็จะรู้ว่า ระบบของเราผลิตสัญญานย่านไหน แรงไป หรือค่อยไป เราก็ไปปรับที่ EQ ของเรา
ปรับไปจนกระทั่ง Spectrum analyzer มันแสดงผลว่า ได้ยินทุกย่านความถี่เสียง...เท่าๆกัน เป็นอันจบ...ถือกันว่า ระบบนั้นได้ทำการจูน EQ จน Flat แล้ว.....ไม่ต้องปรับต้องหมุนอะไรอีกแล้ว
           ...........แต่..........อนิจจา.....ในความเป็นจริงของชีวิต มันไม่ง่ายหยั่งงั๊นนนน...ท่านผู้ชม แผ่นแต่ละแผ่น เทปแต่ละม้วน Producer แต่ละคน วงดนตรีแต่ละวง ต่างก็มีอุปนิสัยไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น.............
ถ้าเป็นวงดนตรีนะครับ ไอ้มือเบสวงนี้มันเล่นดังเหลือเกิน ส่วนไอ้มือคอร์ดก็เล่นเบ๊า-เบา
แต่ไอ้นักร้องก็เสียงดีเหลือเกิน...บางจ๋อยเชียว
มันก็ยังต้องปรับต้องหมุนกันอยู่นั่นเอง.......
แต่เราก็พยายามอย่าไปยุ่งกับ EQ ก็แล้วกันครับ ไปปรับเอาที่ channel ของแต่ละคนซะ
ตานี้.....ถ้าไม่มี Spectrum analyzer จะปรับยังงัยล่ะ ?
มันก็ต้องปรับกันด้วย หู เรานั่นแหละครับ Spectrum analyzer ที่ธรรมชาติให้มากับทุกๆคน

ทำงี้ครับ.......
ตั้ง EQ ทุกปุ่ม ไว้ที่ center ซะก่อน ตรง 0 db นั่นแหละ...
แล้วหาเพลงที่เราคุ้นที่สุด...ชอบที่สุด...ชินที่สุด ถ้าเป็นไปได้ขอให้เป็นแผ่น
CD...เปิดเพลงนี้ฟังดู.......เปิดให้ดังนะครับ อย่าเปิดค่อย
พยายามให้ระดับความดังใกล้เคียงกับระดับความดังของการใช้งานจริงๆเลยหละ
(ผลพลอยได้ก็คือ...กว่าจะปรับเสียงเสร็จ หูก็อื้อทั้งวันแหละครับ เมียด่าอะไรก็ไม่ได้ยินไป 1 วัน)สังเกตุเสียงที่เราได้ยินนะครับ ว่ามีอะไรมันมากไป-น้อยไป เสียงกระเดื่องกะเสียง bass guitar
มันกลมกลืนกลมกล่อมมั๊ย...เสียง guitar chord มันโด่ขึ้นมามากเกินไปมั๊ย หรือว่ารองพื้นดีอยู่แล้ว
...เสียงร้องฟังดูชัดเจนสดใสมั๊ย
ไม่ใช่ฟังแล้วเหมือนไม่เต็มใจร้องบอกซะก่อนนะครับ.....ว่า...ปรับยากครับ ! ! ! มันต้องมีประสบการณ์น่ะ
........หูต้องผ่านศึกสงครามทางด้านเสียงมานานพอควรเชียวแหละ
ก็มี trick เล็กๆน้อย แถมให้นะครับ
- เสียงร้องจะอยู่แถวๆ 1k หรือ 1000 Hz
- ย่าน 100 - 500 ถ้ายกมากเกินไป จะทำให้เสียง บวมมมมม
- ย่าน 2000 - 4000 เนี่ยตัวดี.. มันทำให้เสียงแข็งและหอนง่าย
- ขอซะอย่าง ไอ้ปรับเป็นรูปปีกนก เป็นสายรุ้ง เป็นท้องช้างอะไรนั่นน่ะ....มันใช้บ่ได้จ้าาา
- พยายามเน้นการลด...ไม่ใช่การยกนะครับ
- เพลงที่ใช้ปรับเสียงควรจะหลากหลายนะครับ ไม่ใช่ใช้มันอยู่เพลงเดียว ควรจะมีทั้ง jazz ทั้ง rock ทั้ง
acoustic เพลงบรรเลง เพลงร้อง
เฮ้อ.....ก็คงช่วยได้แค่นี้แหละครับ....ลองทำดูนะครับ
การ EQ ให้เสียงชัดเจนมากขึ้น
เค้า บอกว่า ปกติแล้วเนี่ย การที่เสียงนั้นๆไม่มีความเป็นตัวตนที่ชัดเจน (lack of definition) ก็เพราะว่ามีความถี่ช่วง 400-800 Hz มากเกินไป ความถี่ช่วงนี้จะทำให้เสียงมีลักษณะ ' boxy ' (แปลเป็นไทยไงดีล่ะคับ เหมือนอัดเสียงในกล่องอ่ะ อืมม..คงแบบอู้อี้ ไม่ค่อยรู้เรื่องมั้งฮะ)

ส่วนวิธีการแก้ไขก็ทำดังนี้ครับ (ต้องใช้ EQ แบบ parametric หรือ sweep นะครับ)

1.) ให้เราปรับปุ่ม gain หรือ boost/cut ลดลงประมาณ 8-10 dB

2.) sweep ความถี่ไปเรื่อยๆ จนถึงที่ๆคุณรู้สึกว่า เสียงมันมี definition มากที่สุด ไม่ boxy เท่าไรแล้ว

3.) ทีนี้ปรับปุ่ม gain หรือ boost/cut ของเราตามแต่รสนิยมครับ แต่ให้ระวังว่าถ้าลดมากไปจะทำให้เสียงบางได้

4.) ถ้าต้องการความชัดเจนมากอีกหน่อยลองเพิ่มที่ ช่วงความถี่เสียงกลางสูง (upper mids) ประมาณ 1-4kHz เอาแค่ 1-2 dB. ก็พอครับ หรือว่าอยากเพิ่มมากกว่านั้นก็ได้แต่ต้องระวังนิดนึง

5.)ถ้าต้องการเพิ่มความแวววาว, ทอประกายให้กับเสียง (sparkle) ลองเพิ่มช่วง 5-10kHz ดูครับ

6.)ถ้าต้องการเพิ่ม 'air' ให้รู้สึกโปร่งๆ ก็ลองเพิ่มตรง 10-15kHz ครับ

NOTE! ควรที่จะปรับลดเสมอถ้าเป็นไปได้ การปรับเพิ่มนั้น จะทำให้ความสัมพันธ์ของ phase เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้เสียงนั้นมีสีสันอันไม่พึงปรารถนาได้ ปกติแล้ว ยิ่ง boost มากเท่าไร phase shift ก็มากตามไปด้วย และการ mix ก็จะยิ่งยากเข้าไปใหญ่ engineer หลายๆคนใช้ EQ เท่าที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ถ้าเสียงมันดี มันก็ดีนั่นแหละ

เค้าบอกว่านอกจากการปรับ EQ แบบนั้นแล้ว คุณยังสามารถปรับอีกวิธีได้ด้วย ลองทำดูนะครับ

1.) เริ่มจากการปรับ EQ ให้ flat ให้หมด (ปุ่ม boost/cut, gain อยู่ที่ตำแหน่ง 0 หมด) เสร็จแล้วปรับลดเสียงย่านความถี่ต่ำลงให้หมด (หมดเลยนะครับ cut ไป 18-20dB. หรือเท่าที่มันจะมีให้น่ะครับ)

2.) ใช้ EQ ส่วนที่เหลือแทน ค่อยๆ ปรับ upper mids (ประมาณ 1-4kHz) จนเสียงมันมีความหนาพอดีๆ

3.) จากนั้นก็มาปรับเสียง lower mids (ประมาณ 250-900Hz) ให้เสียงมันครบขึ้น

4.) จากนั้นค่อยๆปรับเสียงย่านความถี่ต่ำขึ้นมาครับ (จากที่เราปรับลดไปหมดเลย) ดูให้มันมีความหนักหน่วงพอสมควร แต่ไม่มากไปจนเสียงขุ่นมัว (muddy)

5.) เพิ่มความถี่สูงๆ เพื่อให้มันมี definition มากขึ้น
 Equalizer หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า EQ คือการเพิ่มหรือลดความดังของสัญญาณเสียงที่ความถี่ต่างๆ ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ นะครับ


ก็อย่างเช่นปุ่มปรับ Treble, Bass บนเครื่องเสียงที่บ้านนั่นแหละ ก็เป็น EQ อย่างนึง
ที่มีให้ปรับเพิ่ม, ลด เสียงทุ้ม, แหลม
แต่ในตัว EQ plug in ที่เราใช้ในโปรแกรมจะสามารถปรับได้ละเอียดลึกลงไปมากกว่านั้นอีก


EQ จะมีรูปแบบการทำงานอยู่สองลักษณะคือ


แบบแรกเป็นการเพิ่มลดความดังที่บริเวณความถี่นั้น (Bell)
ถ้าวาดเป็นกราฟ แกน x เป็นความถี่ แกน Y เป็นความดัง ก็จะได้รูประฆังคว่ำ (ถ้าเพิ่ม) หรือระฆังหงาย (ถ้าลด)

ส่วนอีกแบบคือแบบ Shelving คือตั้งแต่ความถี่ที่เราเซ็ทเป็นต้นไปจะดังเท่านั้นไปตลอด

ค่า parameter ต่างๆ ที่มีให้ปรับใน EQ ทั่วๆ ไปก็จะมี :


Frequency เลือกความถี่ที่เราต้องการจะปรับ


Gain คือปริมาณที่เราจะเพิ่ม (Boost) หรือลด (Cut) ความดังของเสียงที่ความถี่นั้นๆ


Q คือค่าที่ใช้กำหนดความกว้างของช่วงความถี่เสียง
ซึ่งค่านี้ก็จะไปเกี่ยวกับ Bandwidth โดย Bandwidth = Frequency / Q
ตัวอย่างเช่น เราตั้งความถี่ที่จะปรับไว้ที่ 1000 Hz ค่า Q ตั้งไว้ที่ 10
ดังนั้น Bandwidth ก็จะเท่ากับ 1000 / 10 = 100 Hz
หมายความว่าความถี่ที่มีผลกระทบในการปรับจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 950 Hz ถึง 1050 Hz
อีกซักตัวอย่าง.. ถ้าเราเปลี่ยนค่า Q เป็น 1
Bandwidth ก็จะเท่ากับ 1000 / 1 = 1000 Hz ความถี่ที่จะถูกปรับก็คือช่วง 500 Hz ถึง 1500 Hz
จะเห็นได้ว่าค่า Q ยิ่งมากช่วงความถี่ที่จะถูกปรับก็จะยิ่งแคบ รูประฆังก็จะแคบๆ แหลมๆ เหมาะสำหรับการหาความถี่ที่เฉพาะเจาะจงลงไป
และ ถ้าค่า Q น้อย รูประฆังจะออกมาบานๆ กว้างๆ ทำให้ได้เสียงค่อนข้าง smooth เพราะความถี่จะถูกเกลี่ย ไม่มีความถี่ที่โดดขึ้นมาชัดเกินไป

EQ แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้


1. Fixed-Frequency EQ จะแบ่งช่วงความถี่ไว้เป็น high, mid, low ในแต่ละช่วงก็จะมีให้ปรับ Gain และปรับเลือกความถี่ที่อยู่ในช่วงนั้นๆ
2. Graphic EQ ก็เป็น fixed-frequency แบบนึง มีลักษณะเป็นสไลด์หลายๆ อันเรียงกัน อย่าง EQ ใน WinAmp นั่นแหละครับ
3. Parametric EQ แบบนี้จะสามารถเลือกได้ทั้งความถี่และ bandwidth
4. Paragraphic EQ แบบนี้จะรวม Graphic EQ และ Parametric EQ ไว้ด้วยกัน คือจะมีสไลด์เรียงต่อกันเป็นพรืดแบบ Graphic EQ
และแต่ละสไลด์ก็สามารถเลือกความถี่และ bandwidth ได้อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.patid.com/




ความรู้ด้านระบบเสียง

Phantom Power +48Vdc คืออะไร มีไปทำไม เพื่ออะไร
มาทำความรู้จักกับ Connector แบบ COMBO article
เข้าใจลึกซึ้งเรื่อง...ไมโครโฟน article
ไก่งามเพราะขน...ดนตรีไพเราะเพราะการแต่งเสียง article
รูปแบบการต่อสายสัญญาณ article
รูปแบบการต่อลำโพงเข้าเครื่องขยายเสียง article
ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับระบบเสียง article