ไก่งามเพราะขน...ดนตรีไพเราะเพราะการแต่งเสียง
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot


  [Help]
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
dot
รับชำระเงินทางธนาณัติออนไลน์ www.tpesound.com
dot
dot
www.tpesound.com
dot
dot
dot
dot
TAPCO 260FX www.tpesound.com
dot
dot
dot
dot
MODIFY, โมดิฟาย
dot
dot
PROEURO TECH, ยูโรเทค
dot
dot
AJ, A&J, AUDIO JOCKEY
dot
dot
ALTO, LTO
dot
bulletNPE


บริษัท นัฐพงษ์เซลล์แอนด์เซอร์วิส จำกัด
yamaha, ยามาฮ่า, ดนตรี, ระบบเสียง
Behringer, เบอร์ริงเจอร์
P.AUDIO, P Audio, ดอกลำโพง


ไก่งามเพราะขน...ดนตรีไพเราะเพราะการแต่งเสียง article

อีควอไลเซอร์ EQUALIZER : EQ 

ทำความรู้จักเครื่อง Equalizer (EQ)

                ถ้าพูดถึง EQ ท่านที่เป็นช่างที่ชอบระบบเสียงหรือทำงานด้านระบบเสียงและเข้าใจการทำงานและคุ้นเคยกับเครื่องนี้พอสมควร  แต่เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ผมขอทบทวนถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ดังกล่าวพอ  คร่าวๆ
                EQ ในระบบเสียงที่มีใช้งานจะแบ่งได้หลักๆ เป็น2ประเภท
                1. Graphic Equalizer
                2. Datamatic Equalizer
                อุปกรณ์ทั้ง 2 ประเภทก็จะมีหลายๆรุ่น หลายขนาด ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานแต่ละลักษณะ  อุปกรณ์ดังกล่าวมีไว้ในระบบเสียง เพื่อวัตถุประสงค์หลัก คือ ปรับลดหรือเพิ่มความถี่ต่างๆ ที่ใกล้เคียงกัน หากมีความถี่ใดที่เกินหรือน้อยกว่าปกติต้องใช้อุปกรณ์ EQ ในการปรับเพิ่มหรือลดให้ได้ผลการตอบสนองความถี่ที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด หรือเข้าใจง่ายๆ คือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปรับความสมดุลของเสียงที่ออกจากอุปกรณ์ระบบเสียงกับคุณสมบัติของห้องที่ใช้งานให้มีความสมดุลมากที่สุด

การติดตั้งการทดสอบ การปรับแต่ง EQ กับระบบเสียง

                เมื่อมีระบบเสียงให้ติดตั้งหรือเข้าไปแก้ไขปรับปรุงแต่งระบบเราต้องมีอุปกรณ์ช่วยสำหรับการดำเนินการ ซึ่งควรมีอุปกรณ์ดังนี้

                1. เครื่องมือพื้นฐานประจำตัว เช่น ไขควง คีม หัวแร้ง ฯลฯ

                2. เครื่องวัดทดสอบ ถ้าใช้ในการวัดค่าและปรับแต่ง EQ กับระบบเสียงแล้วคือ Spectrum Analizer

                3. แผ่นทดสอบเสียง CD Sound Check ต่างๆ

                4. แบบหรือไดอะแกรมระบบ ถ้าเป็นงานระบบใหม่ๆ ควรจะมีไว้สำหรับการแก้ไขปัญหา เมื่อมีเครื่องมือตามรายการแล้วจะช่วยให้ช่างสามารถตรวจเช็กและปรับแต่งเสียงได้ง่ายและถูกต้องมากที่สุด ไม่ใช้การคาดเดาหรือความชอบส่วนตัวเช่นตัวเราอาจชอบฟังเพลงร็อคก็จะปรับแต่งเสียงไปทางที่เราชอบ หรือช่วงไหนชอบลูกทุ่งก็จะปรับแต่งเสียงไปทางนั้นๆ ถ้าเรามีอุปกรณ์ในการช่วยวัดแทนหูฟังก็สามารถวัดค่าออกมาใกล้เคียงกับความเป็นจริงได้มากที่สุด

 

เริ่มการปรับแต่งกันเลย.....

                อันดับแรก เราต้องนำไมค์ ที่เป็นอุปกรณ์เครื่องมือวัดจากชุด Spectrum มาตั้งที่ตำแหน่งที่เรากำหนด เช่น กลางห้อง หลังห้อง หรือหน้าห้อง   จากนั้นป้อนตัวรบกวน (Noise) เข้าที่ระบบเสียง noise ที่ใช้ในการวัดจะใช้ Pink Noise  สัญญาณที่เครื่องวัดได้จะแสดงผลที่จอ เราจะสามารถวิเคราะห์ได้ทันทีเลย ว่าระบบเสียงกับสภาพห้องสมดุลกันหรือไม่ ลืมบอกไปว่าเราต้องตั้งค่า Parameter ต่างๆ ของ EQไว้ที่ Flat ทั้งหมด

                เมื่อเห็นค่าต่างๆ ที่แสดงผลออกมาแล้วเราก็เริ่มปรับค่าต่างๆ ตามแถบความถี่ต่างๆ ที่ขาดหรือเพิ่มมากไปเราจะได้ค่าของเสียงที่ออกจากระบบเมื่อเข้าไปในห้องแล้วมีการสะท้อนหรือซึมซับได้ตามต้องการ โดยที่เสียงที่ฟังจะออกไปทางกลางๆ จะฟังไม่ไพเราะแต่จะได้ความเป็นจริงและถูกต้องมากที่สุด

                หากท่านใดที่ชอบแนวไหน ท่านสามารถปรับเพิ่มและลดได้ตามความถนัด ขึ้นอยู่กับลักษณะงานนั้นๆ ด้วย ขอแนะนำว่าควรไปปรับที่ Mixer จะเหมาะสมที่สุด

 

อาการเสียที่เคยตรวจพบและแก้ไข

                อาการมีเสียงรบกวนออกมาเป็นระยะๆ

                การตรวจเช็ก ให้ทำการทดสอบ กด By Pass ที่เครื่องดูว่าเมื่อไม่ได้ต่อเข้ากับ EQ และสัญญาณรบกวนยังออกมาอยู่หรือไม่ ถ้ายังมีสัญญาณออกอยู่ ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบซึ่งต้องค้นหาต่อไป หากกดแล้วเสียงหายและกดออกแล้วมีเสียงเหมือนเดิม แสดงว่าปัญหาเกิดขึ้นจากตัว EQ ของเราที่ตั้งอยู่

                การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

                ให้ทดลองกดฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น EQ อาจเกิดจากหน้าสัมผัสของ Switch ต่างๆ หรือปุ่ม Volume ต่างๆ มีฝุ่นเข้าไปทำให้สัญญาณต่างๆเกิดการผิดเพี้ยนการแก้เฉพาะหน้าให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดสัมผัสฉีดล้าง หากดำเนินตามที่ได้ชี้แจงแล้วยังเกิดปัญหาอยู่ ต้องถอดเครื่องออกมาซ่อมและตรวจวัดอุปกรณ์ภายในเครื่อง อาการดังกล่าวอาจเกิดจากมี Capaciter บางตัวเกิดการเสื่อมสภาพ ส่วนมากจะเกิดจากภาค Input และ Output และอาจเกิดจาก IC Opamp ที่ภาค Driver Output เสียต้องเช็กสัญญาณตามจุดต่างๆ

                IC Opamp โดยทั่วๆ ไปจะใช้ IC Opamp ที่มีขายในท้องตลาด เช่น NE5532, LM4558

 

การตรวจวัดค่า Output ต่างๆ

                เมื่อทำการตรวจเช็กและซ่อม EQ ที่เสียแล้วควรทำการวัดค่าการตอบสนองความถี่และค่า Harmonic to noise Ratio ด้วย เพื่อตรวจเช็กต่อว่าอุปกรณ์ที่ทำการซ่อมและมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุดและค่าต่างๆ ภายในเครื่องยังอยู่ในสภาพเดิมหรือไม่ โดยการวัดจะใช้เครื่องมือที่มีซ่อมมาตรฐาน เช่น Audio Precistion, Oscilloscope เป็นต้น

 

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แฮนด์บุ๊ค ฉบับที่ 84 สิงหาคม

 

 

 

 

 

 

 




ความรู้ด้านระบบเสียง

Phantom Power +48Vdc คืออะไร มีไปทำไม เพื่ออะไร
มาทำความรู้จักกับ Connector แบบ COMBO article
การปรับแต่ง / การใช้งาน อีควอไลเซอร์ (EQUALIZER)
เข้าใจลึกซึ้งเรื่อง...ไมโครโฟน article
รูปแบบการต่อสายสัญญาณ article
รูปแบบการต่อลำโพงเข้าเครื่องขยายเสียง article
ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับระบบเสียง article